ความหลากหลายของสายพันธุ์พืชตระกูลส้ม
ส้ม เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิด เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ สกุล Citrus วงศ์ Rutaceae
มีด้วยกันนับร้อยชนิด เติบโตกระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากจะมีน้ำมันหอมระเหยในใบ ดอก
และผล และมีกลิ่นฉุน หากนำใบขึ้นส่องกับแสงแดด จะเห็นจุดเล็กๆ เต็มไปหมด
ซึ่งจุดเหล่านั้นก็คือแหล่งน้ำมันนั่นเอง ส้มหลายชนิดรับประทานได้
ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มักจะมีแคลเซียม โปแทสเซียม ไวตามินเอ และไวตามินซี
มากเป็นพิเศษ ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว
ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด
อนุกรมวิธานของส้มนั้น
มีความยุ่งยากและสับสนมาช้านาน และเป็นที่ถกเถียงในการจำแนกและตั้งชื่อชนิด
(สปีชีส์) ของส้มอยู่เสมอ และการจำแนกกลุ่มยังขึ้นกับนักอนุกรมวิธานด้วย เช่น สวิงเกิล (Swingle) จำแนกได้ 16 ชนิด, ทานาคา (Tanaka) จำแนกได้ 162 ชนิด และฮอจสัน (Hodgson) จำแนก 36
ชนิด ขณะที่บางท่านเสนอว่าส้มทั้งหลายจัดเป็นพืชชนิดเดียวกัน
ที่สามารถผสมพันธุ์ระหว่างกันได้ ขณะเดียวกัน การจำแนกอย่างละเอียดของทานาคา
ก็สร้างความสำเร็จได้ เนื่องจากพบในภายหลังว่า
บางชนิดเป็นเพียงการผสมข้ามสายพันธุ์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกหากเราจะพบชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มหลายชนิดที่แตกต่างกัน
ดังนั้นเพื่อความแน่นอน จึงมักจะระบุถึงนักอนุกรมวิธานผู้จำแนกเอาไว้ด้วยพืชตระกูลส้ม
สายพันธุ์ส้มที่นิยมปลูกในประเทศไทย
·
ส้มเกลี้ยง (Sweet Orange: C. sinensis) เป็นไม้ผลขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 5-7 เมตร ทรงพุ่มค่อนข้างทึบ
กิ่งก้านแข็งแรง มีหนามขนาดใหญ่ หลังจากปลุกแล้ว 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิต
ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 20 วัน
นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 7.5-8 เดือน
·
ส้มเขียวหวาน (Tangerine: C. eticulate) เป็นไม้ผลขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2.5-3 เมตร ทรงพุ่มมีลักษณะแน่นทึบ
เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15 ปี
ถ้ามีการดูแลรักษาอย่างดี ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 20-25 วัน
นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช่เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มเขียวหวานที่มีอายุ 10 ปี
ให้ผลผลิตประมาณ 150-180 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี น้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 8 ผลต่อ 1
กิโลกรัม
·
ส้มจุก (Neck Orange: C. nobilis) เป็นไม้ผลขนาดกลาง เริ่มให้ผลผลิตหลังปลูกประมาณ 3 ปี
และให้ผลต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 20 ปี ตั้งแต่ออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 20 วัน
นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มจุกที่มีอายุ 5 ปี
จะให้ผลผลิตที่มีน้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 5-6 ผลต่อ 1 กิโลกรัม
·
ส้มตรา (ส้มเช้ง) (Acidless
Orange: C. sinensis) เป็นไม้ผลทรงพุ่มขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2.5-3
เมตร เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ปี
ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8-9 เดือน ต้นส้มตราที่มีอายุ 5 ปี
ให้ผลผลิตประมาณ 50 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี นำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 6-8 ผลต่อ 1
กิโลกรัม
·
ส้มโอ (Pummelo: C. grandis หรือ C.
maxima) เป็นไม้ผลทรงพุ่มขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 3-7 เมตร
เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15-20 ปี
นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มที่มีอายุ 8 ปี
จะให้ผลผลิตประมาณ 80-100 ผลต่อต้นต่อปี
การแบ่งกลุ่มของส้ม
ส้มเป็นพืชอยู่ในตระกูล Rutaceae สกุล Citrus สำหรับประเทศไทย มีการจำแนกพืชตระกูลส้ม
พบว่าตระกูลย่อยที่สำคัญที่สุด คือ ตระกุลย่อยของส้ม ซึ่งประกอบด้วยส้มชนิดต่าง ๆ มะขวิด มะตูม และส้มสามใบ
อย่างไรก็ดี พืชตระกุลย่อยนี้ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่ม ได้แก่
·
กลุ่มส้มเกลี้ยงและส้มตรา
(Orange group) แบ่งเป็นส้มที่มีรสหวาน
(Sweet Orange: Citrus sinensis) และส้มทีมีรสเปรี้ยว
หรืออาจมีรสออกขม (Sour or Bitter Orange: Citrus
aurantium)
·
กลุ่มส้มจีน
ส้มเขียวหวาน (Mandarin group) ได้แก่
ซัทซูมา มานดาริน (Satsuma Mandarin:Citrusunshiu) คิงส์ แมนดาริน (King Manderin: Citrus nobilis)
เมดิเตอร์เรเนียน แมนดาริน (Mediterranean Mandarin: Citrus delicoia) คอมมอน แมนดาริน (Common Mandarin: Citrus eticulate)
·
กลุ่มส้มโอ
และเกรฟฟรุท (Pummelo and Grapefruits) ได้แก่ ส้มโอ (Pummelo: Citrus maxima) และเกรฟฟรุท (Grapefruits: Citrus paradise)
·
กลุ่มมะนาว
(Common acid member group) ได้แก่ ซิตรอน (Citron: Citrus medica)
เลมอนหรือมะนาวฝรั่ง (Citrus lemon)
ส้มเกลี้ยง
ส้มเกลี้ยง
เป็นไม้เมืองร้อนตระกูลส้มชนิดหนึ่ง
มีชื่อสามัญว่า Sweet
Orange มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Citrus senesis L. Osbeck เป็นผลไม้ที่ขึ้นได้ดีบริเวณพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่มากนัก[1]
ถิ่นกำเนิดเข้าใจว่าอยู่บริเวณทางตอนใต้ของประเทศจีนต่อมาได้แพร่กระจายไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา
เม็กซิโก ทวีปยุโรปและหมู่เกาะอินเดียตะวันตก
สำหรับในประเทศไทยเชื่อกันว่าเริ่มนำเข้ามาปลูกในสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือสมัยกรุงธนบุรีเพราะประเทศไทยขณะนั้นมีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศจีน
โดยเฉพาะทางด้านการค้า ทำให้ คนจีนเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมากและได้ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยเมื่ออาศัยอยู่ในประเทศไทยในฐานะประชาชนไทยคนหนึ่งที่ไม่ได้ละเลยประเพณีความเชื่อในศาสนาที่ตนเอง
นับถือ สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยสิ่งของที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมอย่างหนึ่ง คือ
ส้ม ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลตรุษจีนหรือสารทจีน เป็นต้น จึงได้มีการนำต้นพันธ์เข้ามาปลูกในประเทศไทย
ซึ่งประเทศจีนทางตอนล่างโดยเฉพาะในเขต มณฑลกวางตุ้ง
มีลักษณะภูมิอากาศใกล้เคียงกับประเทศไทย สามารถปลูกส้มได้ดีเช่นกัน
การนำส้มเกลี้ยงมาปลูกในอำเภอเถินในระยะแรกเป็นพวกชาวจีนที่ประกอบอาชีพค้าขายแต่ดั้งเดิม
ต่อมาประกอบอาชีพทำสวนควบคู่ด้วย ซึ่งส้มเกลี้ยงเป็นผลไม้ประเภทหนึ่งที่นิยมปลูก
โดยการนำเอาเมล็ด หรือกิ่งตอนมาจากจังหวัดนครสวรรค์โดยทางเรือ อำเภอเถินในอดีต
การติดต่อคมนาคมค่อนข้างลำบากเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบแคบๆ
ติดต่อกับภายนอกค่อนข้างลำบากไม่เหมือนปัจจุบัน ผลไม้ต่างถิ่นที่นำมาบริโภคและใช้ในการทำบุญมีน้อย
กอปรกับส้มเกลี้ยงเป็นไม้ผลที่ออกดอก ออกผล แต่ละครั้งบ่อยมาก
เก็บรักษาไว้ได้นานและให้ผลผลิตช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ทำบุญสลากภัต
ในแต่ละหมู่บ้านหรือต่างตำบลในเขตอำเภอเดียวกันมีประเพณีทานสลากภัตไม่พร้อมกัน
เมื่อหมู่บ้านใดมีงานบุญดังกล่าว
ญาติพี่น้องหรือคนรู้จักคุ้นเคยกันจะช่วยเตรียมข้าวปลาอาหาร เครื่องไทยทานต่างๆ
และผลไม้ที่นิยมนำไปร่วมทำบุญคือ ส้มเกลี้ยง
เพื่อใส่ในก๋วยสลากที่จะต้องนำไปทำบุญที่วัด
ด้วยเหตุผลที่ส้มเกลี้ยงมีขนาดพอดีไม่ใหญ่หรือไม่เล็กเกินไป ไม่ช้ำเสียง่าย จึงเป็นที่นิยมใช้ทำบุญในงานพิธีดังกล่าว
จากสาเหตุนี้จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้คนอำเภอเถินในอดีตนิยมปลูกส้มเกลี้ยงกันเกือบแทบทุกบ้าน
4
พื้นที่ที่นิยมปลูกเป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำวังอันอุดมสมบูรณ์
อำเภอเถินปรากฏแหล่งที่เคยปลูกและปัจจุบันยังคงปลูก โดยส่วนใหญ่จะเป็นเขตพื้นที่ตำบลที่มีแม่น้ำวังไหลผ่าน
ได้แก่ ตำบลเถินบุรี ตำบลล้อมแรด ตำบลแม่ปะ และตำบลแม่ถอด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ส้มเกลี้ยงเป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี
มีกลิ่นหอมใช้รับประทานสดๆ หรือทำน้ำส้มคั้นได้ดี ส้มเกลี้ยงมีชิ่อสามัญว่า Sweet Orange มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus senesis L.Osbeck จัดเป็นส้มประเภทเปลือกติดกับเนื้อ
( thigh skin ) ไส้ตรงกลางแน่น ไม่กลวง
ลำต้น
เป็นต้นที่มีลำต้นขนาดปานกลางมีความสูงประมาณ
5 – 7 เมตร
แต่ถ้าอยู่ในที่เหมาะสมอาจสูงถึง 10 เมตร ทรงต้นค่อนข้างทึบ
ลำต้นและกิ่งก้านแข็งแรง ส่วนมากมีหนามตามลำต้น หนามใหญ่และแข็ง
ยิ่งต้นที่เกิดจากเมล็ดจะยิ่งมีหนามมากและยาวเรียวแหลม
ใบ
ค่อนข้างใหญ่
แต่น้อยกว่าส้มโอ มีลักษณะเป็นรูปไข่หรือผลสมอ ยาว 2 – 3 นิ้วฟุต กว้าง 1 – 2
นิ้วฟุต ใบแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกเรียกว่า “แผ่นใบ” ตอนติดกับก้านใบเรียกว่า “หูใบ” ส้มเกลี้ยงเป็นส้มที่มีหูใบเล็กและเรียวแทบมองไม่เห็นเด่นชัด
สีของใบด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างเขียวอ่อนขอบใบเรียบ
ดอก
ออกตามปลายกิ่งเล็กๆ
เป็นช่อจำนวน 10 – 20 ดอก
บางที่ออกดอกเดียวก็มี เป็นดอกสมบรูณ์เพศ ขนาดปานกลาง กลีบดอกมีสีขาวมี 4 –
5 กลีบ เมื่อดอกบานมีกลิ่นหอมมาก
ฤดูที่ผลิดอกอยู่ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน
และบานใบระหว่างเดือนเมษายน –พฤษภาคม ระยะจากผลิดอกถึงบานประมาณ 30 วัน
และระยะจากดอกบานถึงผลแก่ประมาณ 8 เดือน
ผล
ผลส้มเกลี้ยงมีขนาดปานกลางถึงค่อนข้างใหญ่
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 – 10 เซนติเมตร มีลักษณะกลม สูง ไม่แป้น จัดเป็นประเภทผล berry จำพวก hesperidium ผลที่ยังไม่แก่มีสีเขียวเข้ม
แต่เมื่อแก่จัดเป็นสีเขียวอมเหลือง ดึงเหลืองมีตุ่มน้ำมันเล็กๆ กระจายรอบผล
เปลือกหนาปานกลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร มีลักษณะค่อนข้างแข็ง
ภายในผลแบ่งเป็นช่องประมาณ 12 ช่อง อัดแน่นด้วยเนื้อซึ่งเป็นส่วนของ endocarp
มีลักษณะเรียวยาว สีเหลือง ภายในมีน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว
ตรงกลางมีแกนแข็งสีขาว ปริมาณผลใน 1 ต้น จะมีตั้งแต่ 30 – 1000
ผล
เมล็ด
เมล็ดส้มเกลี้ยงใหญ่กว่าเมล็ดส้มเขียวหวานเล็กน้อย
แต่เล็กกว่าส้มโอ เปลือกของเมล็ดย่น สีขาว เมล็ดค่อนข้างแบน
การขยายพันธ์
การขยายพันธ์ส้มเกลี้ยงมีอยู่
2 แบบ คือ การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและกรขยายพันธ์โดยใช้ส่วนอื่นๆ ได้แก่ กิ่ง ยอด ตา
โดยวิธีที่แตกต่างกันออกไป เช่นการปักชำ ตอน ติดตา และต่อกิ่ง
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของต้นว่ามีความยากหรือง่ายในการงอกของราก ส้มบางชนิด
เช่นมะนาว งอกรากได้ง่ายมักใช้วิธีปักชำ หรือ ตอนกิ่ง เป็นต้น
สำหรับการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ในส้มนั้น ยังนิยมมาตราบจนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากพืชตระกูลส้มทุกชนิด มีคุณสมบัติให้ต้นกล้าได้ มากกว่า 1 ต้น
ต่อเมล็ดได้โดยมีเปอร์เซ็นต์การกลายพันธุ์น้อย แม้กระนั้นก็ตาม เกษตรกรยังนิยมขยายพันธ์
โดยวิธีการตอน ติดตา และต่อกิ่ง เนื่องจากส้ม จ ให้ผลผลิตเร็วกว่ากระเพาะเมล็ด
และทรงพุ่มแผ่กว้างทำให้ เก็บผลิตได้สะดวก
นอกจากนี้การใช้ต้นต่อที่เหมาะสมจะทำให้ทนต่อโรครากเน่าและโรคโคนเน่า
แต่มีข้อเสียบ้างคือ เกิดการแพร่ ระบาดของไวรัสได้ง่าย
การปลูกส้มเกลี้ยงในปัจจุบัน
การปลูกส้มเกลี้ยงในปัจจุบันส่วนใหญ่จะปลูกปะปนกับไม้ผลชนิดอื่นๆหลายๆประเภท
เช่นลำไย มะนาว ส้มโอ
เป็นต้น การปลูก ปลูกไม่เป็นระเบียบ มีพื้นที่บริเวณใดว่าง
ซึ่งอาจจะเกิดจากไม้ผลเดิมตายไป ตัดต้นทิ้งแล้วปลูกไม้ผลต้นใหม่แทนที่เดิม
อาจเป็นไม้ผลชนิดเดิม หรือ
ชนิดใหม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าขณะนั้นมีกล้าไม้ผลชนิดใดอยู่ที่สามารถปลูกขณะนั้นได้อีกประการหนึ่งคือเพื่อนบ้านหรือสวนที่อยู่ใกล้เคียงขยายผลผลิตชนิดใดได้เงินมากจะปลูกไม้ผลชนิดนั้นๆตาม
การขยายพันธุ์ส้มเกลี้ยงส่วนใหญ่ใช้กิ่งตอนโดยตอนจากต้นเดิมที่มีอยู่แล้ว
อาจขอตอนกิ่งจากเพื่อนบ้านที่คุ้นเคยกัน หรือลักษณะการตอนกิ่งผ่า
คือการแบ่งกิ่งตอนให้เจ้าของสวนครึ่งหนึ่งผู้ตอนกิ่งได้เครื่องหนึ่ง (ลุงจันทร์
ตากัน ผู้ให้ข้อมูล 27 กันยายน 2542 ) วิธีการปลูก เมื่อขุดหลุมปลูกจะใช้หญ้าแห้งหรือใบไม้แห้งรองก้นหลุมปลูกเสร็จจะรดน้ำ
ใช้ใบไม้แห้งหรือหญ้าแห้งปกคลุมดินรอบๆต้น
มีเกษตรบางรายที่นำหม้อดินเผามาใส่น้ำใช้เศษผ้าวางพาดจากในหม้อให้ชายผ้ายาวจนถึงพื้นดินวางไว้บริเวณใต้ต้น
การดูแลรักษาจะให้น้ำในช่วงฤดูแล้งมีการขุดเจาะน้ำใต้ดิน
ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการขุดเจาะบ่อเฉพาะผู้ที่มีฐานะดีมีเงินทุนพอที่จะหาซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวได้และต้องเป็นสวนที่มีไฟฟ้าเข้าถึงส่วนการใส่ปุ๋ยหรือใช้สารกำจัดศัตรูพืชมีการนำมาใช้น้อยมาก
การตัดแต่งกิ่งค่อนข้างน้อยเช่นเดียวกัน
เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะเสียดายกิ่งเก็บไว้เพื่อให้ออกดอกผลต่อไป
บางรายตัดออกโดย วิธีการตอนกิ่ง เมื่อรากกิ่งตอนแข็งแรงดีแล้วจึงตัด
สวนที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำวังจะไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำแต่จะพบบางปีปัญหาในฤดูฝนหากปริมาณฝนมีมากเกินไปน้ำจะท่วม
เช่นในปี พ.ศ. 2542 ที่ผ่านมาปริมาณน้ำในแม่น้ำวังเพิ่มขึ้นสูงมาก น้ำท่วมสวนส้มของ
เกษตรกรถึง 2 ครั้ง ส้มที่มีอายุการปลูกไม่เกิน 3 ปี
ได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมด
การเก็บผลผลิตส่วนใหญ่จะใช้วีการเก็บที่ละลูกโดยใช้บันไดไม้ไผ่พาดกับต้น
ส้มเกลี้ยงที่มีอายุมากเกิน 10
ปีและปลูกปะปนกับไม้ผลหลายๆประเภทส่วนใหญ่ลำต้นจะสูงทำให้ยุ่งยากในการเก็บบางรายจึงต้องใช้ไม้สอบมีผู้รับซื้อบางรายกำหนดให้เก็บส้มโดยให้มีก้านกับผล
เกษตรกรจึงจำเป็นต้องหากรรไกรตัดกิ่งทุกครั้งบันไดไม้ไผ่ที่มี 2 ขาก็ใช้ลำบาก
จึงต้องเปลี่ยนเป็นบันได 4 ขา ที่ทำจากโลหะแทน
การจำหน่ายผลผลิตโดยจำหน่ายเป็นกิโลกรัมประมารกิโลกรัมละ
4 – 5 บาท
ในช่วงไม่มีเทศกาลแต่ถ้าหากก่อนถึงเทศกาลวันตรุษจีน วันเสารทจีนประมาณหนึ่งอาทิตย์ หรือในช่วงเข้าพรรามีงานทำบุญสลากภัต
จะจำหน่ายได้ราคาประมาณกิโลกรัมละ 7 – 10 บาทซึ่งราคายังขึ้นกับคุณภาพของส้มเกลี้ยงด้วย เช่น ผิวสวยแก่กำลังดี
รสหวาน จะได้ราคาดี
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐน้อย
ไม่มีเจ้าหน้าที่มาแนะนำหรือให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกส้มเกลี้ยง
ส่วนใหญ่จะให้การสนับสนุนการปลูกพืชไร่ เช่น ถั่วเหลือง งา เป็นต้น
อำเภอเถินเคยจัดงานของดีเมืองเถินขึ้นในปี พ.ศ. 2537
เพื่อเน้นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การปลูกส้มเกลี้ยงซึ่งได้รับความสนใจจากคนในท้องถิ่นพอควรหลักจากนั้นกิจกรรมดังกล่าวได้ล้มเลิกไป
โดยทั่วไปแล้วสภาพการปลูกส้มเกลี้ยงในปัจจุบันลดปริมาณการปลูกลงเรื่อยๆซึ่งเป็นเพราะมีปัจจัยหลายประการที่มีอิทธิพลต่อปริมาณการปลูกแต่อย่างไรก็ตามส้มเกลี้ยงก็ยังคงเป็นผลไม้ประจำท้องถิ่นที่คนส่วนใหญ่บอกได้ว่าเป็นผลไม้ที่มาจากอำเภอเถิน
จังหวัดลำปาง
ส้มจุก
เป็นส้มในกลุ่มส้มเปลือกล่อนเช่นเดียวกับส้มโชกุน และส้มเขียวหวาน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างจากส้มชนิดอื่น
คือบริเวณขั้วผลมีปุ่มยื่นออกมาคล้ายจุก ภาษาท้องถิ่นภาคใต้เรียกส้มชนิดนี้ว่า “ส้มแป้นหัวจุก”
แหล่งปลูกดั้งเดิมอยู่ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตามประวัติที่เล่าสืบต่อกันมา
มีการเพาะปลูกส้มจุกมาก่อนปี พ.ศ.2444 ซึ่งเป็นการเพาะปลูกของเกษตรกรรายย่อย
ต่อมาเมื่อได้รับความนิยม จึงมีการขยายพื้นที่ไปยังแหล่งอื่นๆ ในภาคใต้
ปัจจุบันส้มจุกได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานให้มีการปลูกมากขึ้น เนื่องจากการปลูกส้มจุกให้ผลตอบแทนแก่
เกษตรกรต่อพื้นที่ค่อนข้างสูง โดยพ่อค้ารับซื้อจากสวนในราคากิโลกรัมละ 25-30
บาท ซึ่งหากมีการปฏิบัติดูแลรักษาที่ดี
ส้มจุกจะให้ผลผลิตสูงถึงไร่ละ 7,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี (ประมาณ
175,000-210,500 บาท/ไร่/ปี)
ด้านการตลาดผลผลิตของส้มจุกแต่ละปีมีจำนวนน้อย การจำหน่ายยังจำกัดในท้องถิ่นภาคใต้
โดยพ่อค้าคนกลางรับซื้อ ผลส้มจุกจากสวนเกษตรกร ซึ่งแนวโน้มความต้องการบริโภคส้มจุกยังมีมากทั้งตลาดในภาคใต้และภูมิภาคอื่นๆ
ของประเทศ
การขยายพันธุ์
เกษตรกรนิยมขยายพันธุ์ส้มจุกโดยใช้ กิ่งตอน ไม่มีการคัดเลือกต้นพันธุ์
ทำให้เกิดปัญหาติดตามมาภายหลัง โดยเฉพาะความสมบูรณ์ของกิ่งและปัญหาของโรคที่ติดมากับกิ่งพันธุ์
ดังนั้น ในการขยายพันธุ์ ต้องมีการคัดเลือกต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง และนำมาติดตาบนต้นตอพันธุ์ส้มจุก
ที่ได้จากการเพาะเมล็ด
ส้มเช้ง
(Citrus
sinensis) หรือส้มตรา หมากหวาน เป็นพืชพื้นเมืองของจีน เป็นส้มในกลุ่มส้มเกลี้ยง
ทรงพุ่มขนาดเล็ก ดอกสีขาวครีม ผลกลม เว้าบริเวณขั้วเล็กน้อย
ก้นผลเป็นวงคล้ายมีตราติด เปลือกหนา ขรุขระ มีต่อมน้ำมันทั่วผล
เมื่ออ่อนเปลือกสีเขียวเข้ม พอสุกเป็นสีเขียวอ่อนอมเหลือง ก้านผลใหญ่ เนื้อในสีเหลือง
ชาวจีนใช้เป็นผลไม้มงคลในเทศกาลสารทจีน,เทศกาลไหว้พระจันทร์ และ พิธีมงคลสมรสของชาวจีน วิธีกินสดหรือทำน้ำผลไม้
ส้มโอ
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในตระกูลเดียวกับส้ม
มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ โกร้ยตะลอง (ภาษาเขมร) มะขุน
(เหนือ) มะโอ (เหนือ) ลีมาบาลี (มลายู ยะลา) และ สังอู (กะเหรี่ยง มลายู)[1]
มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Pomelo ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาดัตช์ pampelmoose ซึ่งแปลตรงตัวว่า “ส้มที่ลูกเท่าฟักทอง” [2]
แหล่งกำเนิดอยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส้มโอจัดว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย นิยมปลูกทางภาคตะวันตกของประเทศ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ส้มโอเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอด ลำต้นมีสีน้ำตาล มีหนามเล็ก ๆ สูงประมาณ 8 เมตร
ใบเป็นแผ่นหนาสีเขียวเข้ม โคนก้านใบมีหูใบแผ่ออกเป็นรูปหัวใจ แผ่นใบเหมือน มะกรูด
คือแบ่งใบเป็น 2 ตอน แต่ขนาดใบใหญ่กว่า ใบหนาแข็ง มีสีเขียวแก่ มีกลิ่นหอม
ดอกออกเป็นช่อสั้นหรือดอกเดี่ยว ตามบริเวณง่ามใบ มีสีขาว ปลายกลีบมนมี 4 กลีบ
กลางดอกมี เกสร 20-25 อัน ผลกลมโต บางพันธุ์ตรงขั้วมีจุกสูงขึ้นมา
ผิวผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง
ผิวของผลไม่เรียบ ผิวของเปลือกผลมีต่อมน้ำมันกระจายทั่วไป ภายในผลเป็นช่อง ๆ
มีแผ่นบาง ๆ สีขาวกั้นเนื้อให้แยกออกจากกัน เนื้อแต่ละส่วนเรียกว่า “กลีบ”
มีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว มีเมล็ดฝังอยู่ระหว่างเนื้อมากกว่า 1 เมล็ด[3] ผลส้มโอมีเปลือกหนาทำให้สามารถเก็บรักษาได้นาน
มีวิตามินซีมาก
พันธุ์ส้มโอ
แหล่งปลูกส้มโอที่สำคัญในประเทศไทยแต่เดิมมีสองแหล่งคือ
อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นแหล่งกำเนิดของพันธุ์ขาวแป้น และบางปะกอกในเขตธนบุรี เป็นแหล่งกำเนิดของพันธุ์ขาวพวง[2]
ในปัจจุบัน พันธุ์ส้มโอที่เป็นที่นิยมปลูกทางการค้าได้แก่
·
พันธุ์ทองดี
ผลโต กลมแป้น ไม่มีจุก ที่ขั้วมีจีบเล็กน้อย รสหวาน ฉ่ำน้ำ เนื้อสีชมพู
เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกที่จังหวัดนครปฐม
·
พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง
ผลใหญ่ กลมสูง ก้นเรียบ
·
พันธุ์ขาวพวง
ผลกลม มีจุกสูง ผิวเรียบ สีเปลือกเขียวอ่อนอมเหลือง มีเมล็ดน้อย
เป็นพันธุ์ดั้งเดิม
·
พันธุ์ขาวแตงกวา
ผลขนาดกลาง กลมแป้น เปลือกบาง เนื้อสีขาว นิยมปลูกที่จังหวัดชัยนาท
·
พันธุ์ปัตตาเวีย
ปลูกมากทางภาคใต้
การใช้ประโยชน์
นิยมรับประทานส้มโอเป็นผลไม้สด
หรือนำไปประกอบอาหาร เช่น ยำ เมี่ยง ส้มตำ ข้าวยำ หรือทำของหวานเช่นแยมส้มโอ
เปลือกนอกสีขาวนำไปทำเปลือกส้มโอแช่อิ่ม ส้มโอสามรส ในเวียดนามนำไปทำเต้าส่วนเปลือกส้มโอ[2]
ในฟิลิปปินส์นิยมนำเนื้อไปจิ้มเกลือ และทำน้ำผลไม้
ความเชื่อ
ในพิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ส้มโอถือเป็นเครื่องสังเวยที่สำคัญ
เนื่องจากมีความเชื่อว่าหลังจากไหว้ ถ้าผ่าผลส้มโอออกแล้วกลางลูกแห้ง
ไม่มีน้ำจะเป็นเครื่องหมายของโชคดี สตรีที่ยังไม่แต่งงานจะนำส่วนของส้มโอมาทาหน้า
เชื่อว่าทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง และถ้ากินส้มโอในคืนนั้นจะทำให้ตาเป็นประกายสวยงาม
นอกจากนั้นยังใช้ส้มโอเป็นสัญลักษณ์แทนศีรษะของชาวจีนที่เสียชีวิตในการกู้ชาติ [2]
ส้มเขียวหวาน
ส้มเขียวหวาน (Tangerine: C. eticulate) เป็นไม้ผลขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ2.5-3 เมตร ทรงพุ่มมีลักษณะแน่นทึบ
เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15 ปี
ถ้ามีการดูแลรักษาอย่างดี ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 20-25 วัน
นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช่เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มเขียวหวานที่มีอายุ 10 ปี
ให้ผลผลิตประมาณ 150-180 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี น้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 8 ผลต่อ 1
กิโลกรัม