อนุกรมวิธานของส้มนั้น มีความยุ่งยากและสับสนมาช้านาน และเป็นที่ถกเถียงในการจำแนกและตั้งชื่อชนิด (สปีชีส์) ของส้มอยู่เสมอ และการจำแนกกลุ่มยังขึ้นกับนักอนุกรมวิธานด้วย เช่น สวิงเกิล (Swingle) จำแนกได้ 16 ชนิด, ทานาคา (Tanaka) จำแนกได้ 162 ชนิด และฮอจสัน (Hodgson) จำแนก 36 ชนิด ขณะที่บางท่านเสนอว่าส้มทั้งหลายจัดเป็นพืชชนิดเดียวกัน ที่สามารถผสมพันธุ์ระหว่างกันได้ ขณะเดียวกัน การจำแนกอย่างละเอียดของทานาคา ก็สร้างความสำเร็จได้ เนื่องจากพบในภายหลังว่า บางชนิดเป็นเพียงการผสมข้ามสายพันธุ์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกหากเราจะพบชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มหลายชนิดที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อความแน่นอน จึงมักจะระบุถึงนักอนุกรมวิธานผู้จำแนกเอาไว้ด้วยพืชตระกูลส้ม
สายพันธุ์ส้มที่นิยมปลูกในประเทศไทย
·
ส้มเกลี้ยง (Sweet Orange: C. sinensis) เป็นไม้ผลขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 5-7 เมตร ทรงพุ่มค่อนข้างทึบ
กิ่งก้านแข็งแรง มีหนามขนาดใหญ่ หลังจากปลุกแล้ว 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิต
ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 20 วัน
นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 7.5-8 เดือน
·
ส้มเขียวหวาน (Tangerine: C. eticulate) เป็นไม้ผลขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2.5-3 เมตร ทรงพุ่มมีลักษณะแน่นทึบ
เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15 ปี
ถ้ามีการดูแลรักษาอย่างดี ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 20-25 วัน
นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช่เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มเขียวหวานที่มีอายุ 10 ปี
ให้ผลผลิตประมาณ 150-180 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี น้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 8 ผลต่อ 1
กิโลกรัม
·
ส้มจุก (Neck Orange: C. nobilis) เป็นไม้ผลขนาดกลาง เริ่มให้ผลผลิตหลังปลูกประมาณ 3 ปี
และให้ผลต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 20 ปี ตั้งแต่ออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 20 วัน
นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มจุกที่มีอายุ 5 ปี
จะให้ผลผลิตที่มีน้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 5-6 ผลต่อ 1 กิโลกรัม
·
ส้มตรา (ส้มเช้ง) (Acidless
Orange: C. sinensis) เป็นไม้ผลทรงพุ่มขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ 2.5-3
เมตร เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 10 ปี
ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 1 เดือน
นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8-9 เดือน ต้นส้มตราที่มีอายุ 5 ปี
ให้ผลผลิตประมาณ 50 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี นำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 6-8 ผลต่อ 1
กิโลกรัม
·
ส้มโอ (Pummelo: C. grandis หรือ C.
maxima) เป็นไม้ผลทรงพุ่มขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 3-7 เมตร
เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15-20 ปี
นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มที่มีอายุ 8 ปี
จะให้ผลผลิตประมาณ 80-100 ผลต่อต้นต่อปี
การแบ่งกลุ่มของส้ม
ส้มเป็นพืชอยู่ในตระกูล Rutaceae สกุล Citrus สำหรับประเทศไทย มีการจำแนกพืชตระกูลส้ม
พบว่าตระกูลย่อยที่สำคัญที่สุด คือ ตระกุลย่อยของส้ม ซึ่งประกอบด้วยส้มชนิดต่าง ๆ มะขวิด มะตูม และส้มสามใบ
อย่างไรก็ดี พืชตระกุลย่อยนี้ สามารถแบ่งได้ 4 กลุ่ม ได้แก่
·
กลุ่มส้มเกลี้ยงและส้มตรา
(Orange group) แบ่งเป็นส้มที่มีรสหวาน
(Sweet Orange: Citrus sinensis) และส้มทีมีรสเปรี้ยว
หรืออาจมีรสออกขม (Sour or Bitter Orange: Citrus
aurantium)
·
กลุ่มส้มจีน
ส้มเขียวหวาน (Mandarin group) ได้แก่
ซัทซูมา มานดาริน (Satsuma Mandarin:Citrusunshiu) คิงส์ แมนดาริน (King Manderin: Citrus nobilis)
เมดิเตอร์เรเนียน แมนดาริน (Mediterranean Mandarin: Citrus delicoia) คอมมอน แมนดาริน (Common Mandarin: Citrus eticulate)
·
กลุ่มส้มโอ
และเกรฟฟรุท (Pummelo and Grapefruits) ได้แก่ ส้มโอ (Pummelo: Citrus maxima) และเกรฟฟรุท (Grapefruits: Citrus paradise)
·
กลุ่มมะนาว
(Common acid member group) ได้แก่ ซิตรอน (Citron: Citrus medica)
เลมอนหรือมะนาวฝรั่ง (Citrus lemon)
ส้มเกลี้ยง
ส้มเกลี้ยง เป็นไม้เมืองร้อนตระกูลส้มชนิดหนึ่ง มีชื่อสามัญว่า Sweet Orange มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Citrus senesis L. Osbeck เป็นผลไม้ที่ขึ้นได้ดีบริเวณพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่มากนัก[1] ถิ่นกำเนิดเข้าใจว่าอยู่บริเวณทางตอนใต้ของประเทศจีนต่อมาได้แพร่กระจายไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก ทวีปยุโรปและหมู่เกาะอินเดียตะวันตก สำหรับในประเทศไทยเชื่อกันว่าเริ่มนำเข้ามาปลูกในสมัยกรุงศรีอยุธยาหรือสมัยกรุงธนบุรีเพราะประเทศไทยขณะนั้นมีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศจีน โดยเฉพาะทางด้านการค้า ทำให้ คนจีนเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมากและได้ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยเมื่ออาศัยอยู่ในประเทศไทยในฐานะประชาชนไทยคนหนึ่งที่ไม่ได้ละเลยประเพณีความเชื่อในศาสนาที่ตนเอง นับถือ สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยสิ่งของที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมอย่างหนึ่ง คือ ส้ม ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลตรุษจีนหรือสารทจีน เป็นต้น จึงได้มีการนำต้นพันธ์เข้ามาปลูกในประเทศไทย ซึ่งประเทศจีนทางตอนล่างโดยเฉพาะในเขต มณฑลกวางตุ้ง มีลักษณะภูมิอากาศใกล้เคียงกับประเทศไทย สามารถปลูกส้มได้ดีเช่นกัน
การนำส้มเกลี้ยงมาปลูกในอำเภอเถินในระยะแรกเป็นพวกชาวจีนที่ประกอบอาชีพค้าขายแต่ดั้งเดิม ต่อมาประกอบอาชีพทำสวนควบคู่ด้วย ซึ่งส้มเกลี้ยงเป็นผลไม้ประเภทหนึ่งที่นิยมปลูก โดยการนำเอาเมล็ด หรือกิ่งตอนมาจากจังหวัดนครสวรรค์โดยทางเรือ อำเภอเถินในอดีต การติดต่อคมนาคมค่อนข้างลำบากเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบแคบๆ ติดต่อกับภายนอกค่อนข้างลำบากไม่เหมือนปัจจุบัน ผลไม้ต่างถิ่นที่นำมาบริโภคและใช้ในการทำบุญมีน้อย กอปรกับส้มเกลี้ยงเป็นไม้ผลที่ออกดอก ออกผล แต่ละครั้งบ่อยมาก เก็บรักษาไว้ได้นานและให้ผลผลิตช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ทำบุญสลากภัต ในแต่ละหมู่บ้านหรือต่างตำบลในเขตอำเภอเดียวกันมีประเพณีทานสลากภัตไม่พร้อมกัน เมื่อหมู่บ้านใดมีงานบุญดังกล่าว ญาติพี่น้องหรือคนรู้จักคุ้นเคยกันจะช่วยเตรียมข้าวปลาอาหาร เครื่องไทยทานต่างๆ และผลไม้ที่นิยมนำไปร่วมทำบุญคือ ส้มเกลี้ยง เพื่อใส่ในก๋วยสลากที่จะต้องนำไปทำบุญที่วัด ด้วยเหตุผลที่ส้มเกลี้ยงมีขนาดพอดีไม่ใหญ่หรือไม่เล็กเกินไป ไม่ช้ำเสียง่าย จึงเป็นที่นิยมใช้ทำบุญในงานพิธีดังกล่าว จากสาเหตุนี้จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้คนอำเภอเถินในอดีตนิยมปลูกส้มเกลี้ยงกันเกือบแทบทุกบ้าน 4
พื้นที่ที่นิยมปลูกเป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำวังอันอุดมสมบูรณ์ อำเภอเถินปรากฏแหล่งที่เคยปลูกและปัจจุบันยังคงปลูก โดยส่วนใหญ่จะเป็นเขตพื้นที่ตำบลที่มีแม่น้ำวังไหลผ่าน ได้แก่ ตำบลเถินบุรี ตำบลล้อมแรด ตำบลแม่ปะ และตำบลแม่ถอด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ส้มเกลี้ยงเป็นผลไม้ที่มีรสชาติดี
มีกลิ่นหอมใช้รับประทานสดๆ หรือทำน้ำส้มคั้นได้ดี ส้มเกลี้ยงมีชิ่อสามัญว่า Sweet Orange มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus senesis L.Osbeck จัดเป็นส้มประเภทเปลือกติดกับเนื้อ
( thigh skin ) ไส้ตรงกลางแน่น ไม่กลวง
ลำต้น
เป็นต้นที่มีลำต้นขนาดปานกลางมีความสูงประมาณ
5 – 7 เมตร
แต่ถ้าอยู่ในที่เหมาะสมอาจสูงถึง 10 เมตร ทรงต้นค่อนข้างทึบ
ลำต้นและกิ่งก้านแข็งแรง ส่วนมากมีหนามตามลำต้น หนามใหญ่และแข็ง
ยิ่งต้นที่เกิดจากเมล็ดจะยิ่งมีหนามมากและยาวเรียวแหลม
ใบ
ค่อนข้างใหญ่
แต่น้อยกว่าส้มโอ มีลักษณะเป็นรูปไข่หรือผลสมอ ยาว 2 – 3 นิ้วฟุต กว้าง 1 – 2
นิ้วฟุต ใบแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกเรียกว่า “แผ่นใบ” ตอนติดกับก้านใบเรียกว่า “หูใบ” ส้มเกลี้ยงเป็นส้มที่มีหูใบเล็กและเรียวแทบมองไม่เห็นเด่นชัด
สีของใบด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างเขียวอ่อนขอบใบเรียบ
ดอก
ออกตามปลายกิ่งเล็กๆ
เป็นช่อจำนวน 10 – 20 ดอก
บางที่ออกดอกเดียวก็มี เป็นดอกสมบรูณ์เพศ ขนาดปานกลาง กลีบดอกมีสีขาวมี 4 –
5 กลีบ เมื่อดอกบานมีกลิ่นหอมมาก
ฤดูที่ผลิดอกอยู่ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน
และบานใบระหว่างเดือนเมษายน –พฤษภาคม ระยะจากผลิดอกถึงบานประมาณ 30 วัน
และระยะจากดอกบานถึงผลแก่ประมาณ 8 เดือน
ผล
ผลส้มเกลี้ยงมีขนาดปานกลางถึงค่อนข้างใหญ่
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 – 10 เซนติเมตร มีลักษณะกลม สูง ไม่แป้น จัดเป็นประเภทผล berry จำพวก hesperidium ผลที่ยังไม่แก่มีสีเขียวเข้ม
แต่เมื่อแก่จัดเป็นสีเขียวอมเหลือง ดึงเหลืองมีตุ่มน้ำมันเล็กๆ กระจายรอบผล
เปลือกหนาปานกลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร มีลักษณะค่อนข้างแข็ง
ภายในผลแบ่งเป็นช่องประมาณ 12 ช่อง อัดแน่นด้วยเนื้อซึ่งเป็นส่วนของ endocarp
มีลักษณะเรียวยาว สีเหลือง ภายในมีน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว
ตรงกลางมีแกนแข็งสีขาว ปริมาณผลใน 1 ต้น จะมีตั้งแต่ 30 – 1000
ผล
เมล็ด
เมล็ดส้มเกลี้ยงใหญ่กว่าเมล็ดส้มเขียวหวานเล็กน้อย
แต่เล็กกว่าส้มโอ เปลือกของเมล็ดย่น สีขาว เมล็ดค่อนข้างแบน
การขยายพันธ์
การขยายพันธ์ส้มเกลี้ยงมีอยู่
2 แบบ คือ การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและกรขยายพันธ์โดยใช้ส่วนอื่นๆ ได้แก่ กิ่ง ยอด ตา
โดยวิธีที่แตกต่างกันออกไป เช่นการปักชำ ตอน ติดตา และต่อกิ่ง
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของต้นว่ามีความยากหรือง่ายในการงอกของราก ส้มบางชนิด
เช่นมะนาว งอกรากได้ง่ายมักใช้วิธีปักชำ หรือ ตอนกิ่ง เป็นต้น
สำหรับการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ในส้มนั้น ยังนิยมมาตราบจนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากพืชตระกูลส้มทุกชนิด มีคุณสมบัติให้ต้นกล้าได้ มากกว่า 1 ต้น
ต่อเมล็ดได้โดยมีเปอร์เซ็นต์การกลายพันธุ์น้อย แม้กระนั้นก็ตาม เกษตรกรยังนิยมขยายพันธ์
โดยวิธีการตอน ติดตา และต่อกิ่ง เนื่องจากส้ม จ ให้ผลผลิตเร็วกว่ากระเพาะเมล็ด
และทรงพุ่มแผ่กว้างทำให้ เก็บผลิตได้สะดวก
นอกจากนี้การใช้ต้นต่อที่เหมาะสมจะทำให้ทนต่อโรครากเน่าและโรคโคนเน่า
แต่มีข้อเสียบ้างคือ เกิดการแพร่ ระบาดของไวรัสได้ง่าย
การปลูกส้มเกลี้ยงในปัจจุบัน
การปลูกส้มเกลี้ยงในปัจจุบันส่วนใหญ่จะปลูกปะปนกับไม้ผลชนิดอื่นๆหลายๆประเภท
เช่นลำไย มะนาว ส้มโอ
เป็นต้น การปลูก ปลูกไม่เป็นระเบียบ มีพื้นที่บริเวณใดว่าง
ซึ่งอาจจะเกิดจากไม้ผลเดิมตายไป ตัดต้นทิ้งแล้วปลูกไม้ผลต้นใหม่แทนที่เดิม
อาจเป็นไม้ผลชนิดเดิม หรือ
ชนิดใหม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าขณะนั้นมีกล้าไม้ผลชนิดใดอยู่ที่สามารถปลูกขณะนั้นได้อีกประการหนึ่งคือเพื่อนบ้านหรือสวนที่อยู่ใกล้เคียงขยายผลผลิตชนิดใดได้เงินมากจะปลูกไม้ผลชนิดนั้นๆตาม
การขยายพันธุ์ส้มเกลี้ยงส่วนใหญ่ใช้กิ่งตอนโดยตอนจากต้นเดิมที่มีอยู่แล้ว
อาจขอตอนกิ่งจากเพื่อนบ้านที่คุ้นเคยกัน หรือลักษณะการตอนกิ่งผ่า
คือการแบ่งกิ่งตอนให้เจ้าของสวนครึ่งหนึ่งผู้ตอนกิ่งได้เครื่องหนึ่ง (ลุงจันทร์
ตากัน ผู้ให้ข้อมูล 27 กันยายน 2542 ) วิธีการปลูก เมื่อขุดหลุมปลูกจะใช้หญ้าแห้งหรือใบไม้แห้งรองก้นหลุมปลูกเสร็จจะรดน้ำ
ใช้ใบไม้แห้งหรือหญ้าแห้งปกคลุมดินรอบๆต้น
มีเกษตรบางรายที่นำหม้อดินเผามาใส่น้ำใช้เศษผ้าวางพาดจากในหม้อให้ชายผ้ายาวจนถึงพื้นดินวางไว้บริเวณใต้ต้น
การดูแลรักษาจะให้น้ำในช่วงฤดูแล้งมีการขุดเจาะน้ำใต้ดิน
ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการขุดเจาะบ่อเฉพาะผู้ที่มีฐานะดีมีเงินทุนพอที่จะหาซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวได้และต้องเป็นสวนที่มีไฟฟ้าเข้าถึงส่วนการใส่ปุ๋ยหรือใช้สารกำจัดศัตรูพืชมีการนำมาใช้น้อยมาก
การตัดแต่งกิ่งค่อนข้างน้อยเช่นเดียวกัน
เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะเสียดายกิ่งเก็บไว้เพื่อให้ออกดอกผลต่อไป
บางรายตัดออกโดย วิธีการตอนกิ่ง เมื่อรากกิ่งตอนแข็งแรงดีแล้วจึงตัด
สวนที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำวังจะไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำแต่จะพบบางปีปัญหาในฤดูฝนหากปริมาณฝนมีมากเกินไปน้ำจะท่วม
เช่นในปี พ.ศ. 2542 ที่ผ่านมาปริมาณน้ำในแม่น้ำวังเพิ่มขึ้นสูงมาก น้ำท่วมสวนส้มของ
เกษตรกรถึง 2 ครั้ง ส้มที่มีอายุการปลูกไม่เกิน 3 ปี
ได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมด
การเก็บผลผลิตส่วนใหญ่จะใช้วีการเก็บที่ละลูกโดยใช้บันไดไม้ไผ่พาดกับต้น
ส้มเกลี้ยงที่มีอายุมากเกิน 10
ปีและปลูกปะปนกับไม้ผลหลายๆประเภทส่วนใหญ่ลำต้นจะสูงทำให้ยุ่งยากในการเก็บบางรายจึงต้องใช้ไม้สอบมีผู้รับซื้อบางรายกำหนดให้เก็บส้มโดยให้มีก้านกับผล
เกษตรกรจึงจำเป็นต้องหากรรไกรตัดกิ่งทุกครั้งบันไดไม้ไผ่ที่มี 2 ขาก็ใช้ลำบาก
จึงต้องเปลี่ยนเป็นบันได 4 ขา ที่ทำจากโลหะแทน
การจำหน่ายผลผลิตโดยจำหน่ายเป็นกิโลกรัมประมารกิโลกรัมละ
4 – 5 บาท
ในช่วงไม่มีเทศกาลแต่ถ้าหากก่อนถึงเทศกาลวันตรุษจีน วันเสารทจีนประมาณหนึ่งอาทิตย์ หรือในช่วงเข้าพรรามีงานทำบุญสลากภัต
จะจำหน่ายได้ราคาประมาณกิโลกรัมละ 7 – 10 บาทซึ่งราคายังขึ้นกับคุณภาพของส้มเกลี้ยงด้วย เช่น ผิวสวยแก่กำลังดี
รสหวาน จะได้ราคาดี
การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐน้อย
ไม่มีเจ้าหน้าที่มาแนะนำหรือให้การช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกส้มเกลี้ยง
ส่วนใหญ่จะให้การสนับสนุนการปลูกพืชไร่ เช่น ถั่วเหลือง งา เป็นต้น
อำเภอเถินเคยจัดงานของดีเมืองเถินขึ้นในปี พ.ศ. 2537
เพื่อเน้นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การปลูกส้มเกลี้ยงซึ่งได้รับความสนใจจากคนในท้องถิ่นพอควรหลักจากนั้นกิจกรรมดังกล่าวได้ล้มเลิกไป
โดยทั่วไปแล้วสภาพการปลูกส้มเกลี้ยงในปัจจุบันลดปริมาณการปลูกลงเรื่อยๆซึ่งเป็นเพราะมีปัจจัยหลายประการที่มีอิทธิพลต่อปริมาณการปลูกแต่อย่างไรก็ตามส้มเกลี้ยงก็ยังคงเป็นผลไม้ประจำท้องถิ่นที่คนส่วนใหญ่บอกได้ว่าเป็นผลไม้ที่มาจากอำเภอเถิน
จังหวัดลำปาง
แหล่งปลูกดั้งเดิมอยู่ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตามประวัติที่เล่าสืบต่อกันมา
มีการเพาะปลูกส้มจุกมาก่อนปี พ.ศ.2444 ซึ่งเป็นการเพาะปลูกของเกษตรกรรายย่อย
ต่อมาเมื่อได้รับความนิยม จึงมีการขยายพื้นที่ไปยังแหล่งอื่นๆ ในภาคใต้
ปัจจุบันส้มจุกได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานให้มีการปลูกมากขึ้น เนื่องจากการปลูกส้มจุกให้ผลตอบแทนแก่
เกษตรกรต่อพื้นที่ค่อนข้างสูง โดยพ่อค้ารับซื้อจากสวนในราคากิโลกรัมละ 25-30
บาท ซึ่งหากมีการปฏิบัติดูแลรักษาที่ดี
ส้มจุกจะให้ผลผลิตสูงถึงไร่ละ 7,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี (ประมาณ
175,000-210,500 บาท/ไร่/ปี)
ด้านการตลาดผลผลิตของส้มจุกแต่ละปีมีจำนวนน้อย การจำหน่ายยังจำกัดในท้องถิ่นภาคใต้
โดยพ่อค้าคนกลางรับซื้อ ผลส้มจุกจากสวนเกษตรกร ซึ่งแนวโน้มความต้องการบริโภคส้มจุกยังมีมากทั้งตลาดในภาคใต้และภูมิภาคอื่นๆ
ของประเทศ
การขยายพันธุ์
เกษตรกรนิยมขยายพันธุ์ส้มจุกโดยใช้ กิ่งตอน ไม่มีการคัดเลือกต้นพันธุ์
ทำให้เกิดปัญหาติดตามมาภายหลัง โดยเฉพาะความสมบูรณ์ของกิ่งและปัญหาของโรคที่ติดมากับกิ่งพันธุ์
ดังนั้น ในการขยายพันธุ์ ต้องมีการคัดเลือกต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง และนำมาติดตาบนต้นตอพันธุ์ส้มจุก
ที่ได้จากการเพาะเมล็ด
ส้มเช้ง
(Citrus
sinensis) หรือส้มตรา หมากหวาน เป็นพืชพื้นเมืองของจีน เป็นส้มในกลุ่มส้มเกลี้ยง
ทรงพุ่มขนาดเล็ก ดอกสีขาวครีม ผลกลม เว้าบริเวณขั้วเล็กน้อย
ก้นผลเป็นวงคล้ายมีตราติด เปลือกหนา ขรุขระ มีต่อมน้ำมันทั่วผล
เมื่ออ่อนเปลือกสีเขียวเข้ม พอสุกเป็นสีเขียวอ่อนอมเหลือง ก้านผลใหญ่ เนื้อในสีเหลือง
ชาวจีนใช้เป็นผลไม้มงคลในเทศกาลสารทจีน,เทศกาลไหว้พระจันทร์ และ พิธีมงคลสมรสของชาวจีน วิธีกินสดหรือทำน้ำผลไม้
ส้มโอ
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในตระกูลเดียวกับส้ม
มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ โกร้ยตะลอง (ภาษาเขมร) มะขุน
(เหนือ) มะโอ (เหนือ) ลีมาบาลี (มลายู ยะลา) และ สังอู (กะเหรี่ยง มลายู)[1]
มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Pomelo ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาดัตช์ pampelmoose ซึ่งแปลตรงตัวว่า “ส้มที่ลูกเท่าฟักทอง” [2]
แหล่งกำเนิดอยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส้มโอจัดว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย นิยมปลูกทางภาคตะวันตกของประเทศ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ส้มโอเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก
แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอด ลำต้นมีสีน้ำตาล มีหนามเล็ก ๆ สูงประมาณ 8 เมตร
ใบเป็นแผ่นหนาสีเขียวเข้ม โคนก้านใบมีหูใบแผ่ออกเป็นรูปหัวใจ แผ่นใบเหมือน มะกรูด
คือแบ่งใบเป็น 2 ตอน แต่ขนาดใบใหญ่กว่า ใบหนาแข็ง มีสีเขียวแก่ มีกลิ่นหอม
ดอกออกเป็นช่อสั้นหรือดอกเดี่ยว ตามบริเวณง่ามใบ มีสีขาว ปลายกลีบมนมี 4 กลีบ
กลางดอกมี เกสร 20-25 อัน ผลกลมโต บางพันธุ์ตรงขั้วมีจุกสูงขึ้นมา
ผิวผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง
ผิวของผลไม่เรียบ ผิวของเปลือกผลมีต่อมน้ำมันกระจายทั่วไป ภายในผลเป็นช่อง ๆ
มีแผ่นบาง ๆ สีขาวกั้นเนื้อให้แยกออกจากกัน เนื้อแต่ละส่วนเรียกว่า “กลีบ”
มีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว มีเมล็ดฝังอยู่ระหว่างเนื้อมากกว่า 1 เมล็ด[3] ผลส้มโอมีเปลือกหนาทำให้สามารถเก็บรักษาได้นาน
มีวิตามินซีมาก
พันธุ์ส้มโอ
แหล่งปลูกส้มโอที่สำคัญในประเทศไทยแต่เดิมมีสองแหล่งคือ
อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นแหล่งกำเนิดของพันธุ์ขาวแป้น และบางปะกอกในเขตธนบุรี เป็นแหล่งกำเนิดของพันธุ์ขาวพวง[2]
ในปัจจุบัน พันธุ์ส้มโอที่เป็นที่นิยมปลูกทางการค้าได้แก่
·
พันธุ์ทองดี
ผลโต กลมแป้น ไม่มีจุก ที่ขั้วมีจีบเล็กน้อย รสหวาน ฉ่ำน้ำ เนื้อสีชมพู
เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกที่จังหวัดนครปฐม
·
พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง
ผลใหญ่ กลมสูง ก้นเรียบ
·
พันธุ์ขาวพวง
ผลกลม มีจุกสูง ผิวเรียบ สีเปลือกเขียวอ่อนอมเหลือง มีเมล็ดน้อย
เป็นพันธุ์ดั้งเดิม
·
พันธุ์ปัตตาเวีย
ปลูกมากทางภาคใต้
การใช้ประโยชน์
นิยมรับประทานส้มโอเป็นผลไม้สด
หรือนำไปประกอบอาหาร เช่น ยำ เมี่ยง ส้มตำ ข้าวยำ หรือทำของหวานเช่นแยมส้มโอ
เปลือกนอกสีขาวนำไปทำเปลือกส้มโอแช่อิ่ม ส้มโอสามรส ในเวียดนามนำไปทำเต้าส่วนเปลือกส้มโอ[2]
ในฟิลิปปินส์นิยมนำเนื้อไปจิ้มเกลือ และทำน้ำผลไม้
ความเชื่อ
ในพิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ส้มโอถือเป็นเครื่องสังเวยที่สำคัญ
เนื่องจากมีความเชื่อว่าหลังจากไหว้ ถ้าผ่าผลส้มโอออกแล้วกลางลูกแห้ง
ไม่มีน้ำจะเป็นเครื่องหมายของโชคดี สตรีที่ยังไม่แต่งงานจะนำส่วนของส้มโอมาทาหน้า
เชื่อว่าทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง และถ้ากินส้มโอในคืนนั้นจะทำให้ตาเป็นประกายสวยงาม
นอกจากนั้นยังใช้ส้มโอเป็นสัญลักษณ์แทนศีรษะของชาวจีนที่เสียชีวิตในการกู้ชาติ [2]
ส้มเขียวหวาน
ส้มเขียวหวาน (Tangerine: C. eticulate) เป็นไม้ผลขนาดเล็ก ต้นสูงประมาณ2.5-3 เมตร ทรงพุ่มมีลักษณะแน่นทึบ
เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 3 ปี และให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 15 ปี
ถ้ามีการดูแลรักษาอย่างดี ตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 20-25 วัน
นับจากดอกบานจนถึงผลแก่ใช่เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นส้มเขียวหวานที่มีอายุ 10 ปี
ให้ผลผลิตประมาณ 150-180 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี น้ำหนักเฉลี่ยของผลประมาณ 8 ผลต่อ 1
กิโลกรัม
thank you very much
ตอบลบ